ใครๆก็แก้กฎหมายได้(คุณก็ด้วย)
Bookmark and Share

วันพฤหัสบดีที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

วันที่ 28-30 กรกฎาคม พ.ศ.2553 เวลา 13.00 ถึง 15.30 น.ห้อง 708 อาคารบรมราชกุมารี/วันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 เวลา 13.00 ถึง 15.30 น. ห้อง Recital Hall ชั้น 3 ตึก คณะศิลปกรรมศาสตร์

การบรรยายปรัชญาของ Erwin Schadel

Activity Date: 
Wed, 2010-07-28 13:00
การบรรยายของ Prof. Dr. Erwin Schadel จากมหาวิทยาลัย Bamberg ประเทศเยอรมนี จัดโดยกลุ่มวิจัยพระพุทธศาสนาในวรรณกรรมโลก ร่วมกับศูนย์จริยธรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระหว่างวันที่ 28-30 กรกฎาคม พ.ศ.2553 
“Dialogue as Effective Chance for an Enriching Development of Mankind: Some Outlines Inspired by the Pansophy of John Amos Comenius” ในวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 เวลา 13.00 ถึง 15.30 น.ห้อง 708 อาคารบรมราชกุมารี
 
John Amos Comenius เป็นนักปรัชญาชาวเช็ค มีชีวิตอยู่ในราวคริสตศตวรรษที่สิบเจ็ด เป็นที่รู้จัก ว่าเป็น “บิดาแห่งการศึกษาสมัยใหม่” และก็มีความคิดโดดเด่นทางปรัชญาเกี่ยวกับ ‘pansophy’ หรือแปลว่า “ปัญญาสากล” ซึ่งเน้นการปฏิรูปทางด้านการเมือง วิทยาศาสตร์และสังคม เพื่อให้เกิด การปรองดองสอดคล้องกันระหว่างทั้งสาม นี้ อันจะยังผมให้เกิดเสรีภาพอันถาวรแก่มวลมนุษย์
 
“Do We Live in the Best of all Possible Worlds?: Some Commentaries on Leibniz’ ‘Monadology’ and ‘Theodicy’ ในวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 เวลา 13.00 ถึง 15.30 น.ห้อง 708 อาคารบรมราชกุมารี
 
Leibniz เป็นนักปรัชญาชาวเยอรมันในสมัยศตวรรษที่สิบเจ็ดเช่นเดียวกัน เป็นที่รู้จักว่าเป็นผู้คิดค้น วิชาแคลคูลัสคู่กับเซอร์ไอแซค นิวตัน ไลบ์นิซมีหลักปรัชญาว่าโลกใบนี้เป็น “โลกที่ดีที่สุดในบรรดาโลก ที่เป็น ไปได้ทั้งหมด” เนื่องจากพระเจ้าผู้ทรงมหากรุณาและมหาพลานุภาพ ไม่สามารถสร้างโลกให้ เป็นอื่นไปได้นอกจากที่เป็นอยู่เช่นนี้ แต่ก็เกิดปัญหาว่าหากเป็นเช่นนี้ เหตุใดพระเจ้าจึงยอมให้เกิดภัย พิบัติขึ้นในโลก เช่นแผ่นดินไหวหรือคลื่นสึนามิ? คำตอบของไลบ์นิซก็คือว่า ภัยพิบัติหรือสิ่งชั่วร้ายเหล่า นี้ก็เป็นส่วนหนึ่งของ “โลกที่ดีที่สุด” ด้วย ซึ่งคำตอบนี้ก่อให้เกิดการถกเถียงอย่างกว้าง ขวาง นอก จากนี้ไลบ์นิซยังมีทรรศนะว่าโลกของเราประกอบด้วยหน่วยย่อยๆ ที่แบ่งอีกต่อไปไม่ได้ ที่เรียกว่า ‘monads’ ซึ่งแต่ละหน่วยมีลักษณะประจำตัว ไม่เหมือนหน่วยอื่นใด โลกเรานี้เป็นโลกที่สมบูรณ์สูงสุด ก็เพราะว่า หน่วย monad เหล่านี้ต่างก็สะท้อนซึ่งกันและกันอย่างมากที่สุดและสมบูรณ์ สูงสุด
 
“The Principle of Harmony: Ontological Elucidations of the Basic Structures of Tonality (with a Special Reference to Johannes Kepler) ในวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 เวลา 13.00 ถึง 15.30 น. ห้อง Recital Hall ชั้น 3 ตึก คณะศิลปกรรมศาสตร์ มีการแสดงเปียโนประกอบ
 
นักปรัชญามองเห็นความสัมพันธ์ระหว่างธรรมชาติกับเสียงต่างๆ มานานแล้ว หลักการพื้นฐานของ เสียงประสาน (harmony) ก็คือว่า เสียงประสานกันเนื่องจากคลื่นเสียงมีความสัมพันธ์เชิง คณิตศาสตร์ ต่อกัน ในการบรรยายนี้ Prof. Schadel จะนำเสนอหลักการพื้นฐานทาง ธรรมชาติ และอภิปรัชญาของเสียงประสานในดนตรี และจะเสนอความคิดของนักปรัชญา และนักดาราศาสตร์ที่ มีชื่อเสียงคือโยฮันเนส เคปเลอร์ เคปเลอร์เป็นผู้ค้นพบว่าการโคจรของดาวเคราะห์รอบดวงอาทิตย์ เป็น รูปวงรีไม่ใช่วงกลมดังที่เคยคิดกัน และเป็นผู้ที่เชื่อมั่นว่าการ สอดประสานกันอย่างลงตัวของ ดวงดาวในจักรวาลนั้นเป็น “ดนตรี” ของจักรวาล ซึ่งแสดงว่าดนตรีกับดาราศาสตร์และฟิสิกส์นั้นมีพื้น ฐานใกล้ชิดกัน มาก
 
การบรรยายทั้งสามวันมีของว่าง เครื่องดื่มบริการ
 
รายละเอียดเกี่ยวกับ  Prof. Schadel’s biodata: http://www.uni-bamberg.de/?id=29165

ขอเชิญอ่าน blog.Thank you so much.
http://www.thaifreedompress.blogspot.com/
http://sunblog1951.blogspot.com/ sunday
http://blogpwd.blogspot.com/ pwd9
http://ktblog1951.blogspot.com/ pwday
http://newsblog9.blogspot.com/ news
http://bloghealth99.blogspot.com/ health
http://labour9.blogspot.com/ labour
http://www.media4democracy.com/th/
http://www.youngtelecom.org/
http://www.logex.kmutt.ac.th/
http://www.mict4u.net/thai/
http://www.chula.ac.th/visitors/thai/calendar.htm
http://www.agkmstou.com/2008/index.php
http://www.baanjomyut.com/library/lotus/index.html
http://www.asianbarometer.org/newenglish/introduction/default.htm
http://www.isriya.com/node/2809
/wordcamp-bangkok-2009-pool-party
C:\Documents and Settings\user\My Documents\ไฟล์ที่ได้รับของฉัน\issarachon1101.wma
http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=hiansoon

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ติดตาม

คลังบทความของบล็อก