
จัดงานประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 3 | |
Where: | อาคารสหประชาชาติ (UN) |
When: | 15 December at 09:00 until 17 December at 17:00 |
ติดต่อ คุณอัจฉรา 086-6282817 หรือร่วมบริจาค ธ.กรุงไทย เลขบัญชี 031-0-03432-9 หรือ ธ.กรุงเทพ เลขบัญชี 145-5-24762-5 ชื่อบัญชีสมาคมสร้างสรรค์กิจกรรมอิสรชน ต้องใช้จ่าย เดือนละ 1 แสนบาท โดยเป็นค่าใช้จ่าย ใน 3 โครงการ ที่ดูแล คนเร่ร่อนไร้บ้าน...พนักงานบริการ ...เด็กและเยาวชนในชนบทกลุ่มต่าง ๆ /"ความสำเร็จประกอบด้วยความผิดพลั้งหลายๆ ครั้งมารวมกันโดยที่ความกระตือรือร้นที่หวังจะพบกับชัยชนะนั้นยังคงอยู่" (วินสตัน เชอร์ชิลล์).
จัดงานประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 3 | |
Where: | อาคารสหประชาชาติ (UN) |
When: | 15 December at 09:00 until 17 December at 17:00 |
1. สัมมนาทางวิชาการเรื่อง “เฟ่ย เสี้ยวทงกับชนบทจีนศึกษา”
วันที่ 17 พฤศจิกายน 2553 เวลา 09.00 – 12.00 น.
สถานที่ ห้องประชุมประกอบ หุตะสิงห์ ชั้น 3 อาคารเอนกประสงค์ 1
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
2. จัดบรรยายพิเศษเรื่อง“นามนั้นสำคัญไฉน : ชื่อบุคคลและสถานที่ในเรื่องสามก๊ก”
วันที่ 24 พฤศจิกายน 2553 เวลา 09.00 – 12.00 น.
สถานที่ ห้องประชุมบุญชู โรจนเสถียร ชั้น 3 อาคารเอนกประสงค์ 1
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
ใบตอบรับเข้าร่วมสัมมนาทางวิชาการ / บรรยายพิเศษจีนศึกษา
…………………………………………………………………………………
……………………………………………..
ท่านสนใจเข้าร่วม 5สัมมนาวิชาการ “เฟ่ย เสี้ยวทงกับชนบทจีนศึกษา”
สังคมวิทยาชนบทจีน ”
วันพุธที่ 17 พฤศจิกายน 2553 เวลา 09.00 - 12.00. น. ณ
ห้องประชุมประกอบ หุตะสิงห์
ชั้น 3 อาคารอเนกประสงค์ 1 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
จัดโดย โครงการจีนศึกษา สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา ร่วมกับ
โครงการจัดพิมพ์คบไฟ
สมาคมสังคมวิทยาชนบทแห่งเอเชีย
และคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
และเปิดตัวแนะนำหนังสือแปล “ พื้นถิ่นแผ่นดินจีน :
5บรรยายพิเศษ “ นามนั้นสำคัญไฉน : ชื่อบุคคลและสถานที่ในเรื่องสามก๊ก ”
วันพุธที่ 24 พฤศจิกายน 2553 เวลา 09.00 - 12.00 น. ณ
ห้องประชุมบุญชู โรจนเสถียร
ชั้น 3 อาคารอเนกประสงค์ 1 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
จัดโดย โครงการจีนศึกษา สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
1. ชื่อ
ตำแหน่ง
หน่วยงาน
ที่อยู่
โทรศัพท์
มือถือ
โทรสาร
Email
2. ชื่อ
ตำแหน่ง
หน่วยงาน
ที่อยู่
โทรศัพท์
โทรสาร
โปรดส่งใบตอบรับเพื่อลงทะเบียน โทรสาร 02-564-4777
อีเมล์ ChineseStudies.asia.tu@gmail.com , prasia.tu@gmail.com หรือ
สอบถามรายละเอียดได้ที่ สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา
โทร 02-564-5000-3 ข้อมูลเพิ่มเติม http://www.asia.tu.ac.th/
จัดโดย โครงการจีนศึกษา สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา
ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
สมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจ จัดสัมมนา "ความเสี่ยงเศรษฐกิจไทยกับการเติบโตของ จีดีพี ปี 54"
สมาคม ผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจ จัดสัมมนา "ความเสี่ยงเศรษฐกิจไทยกับการเติบโตของ จีดีพี ปี 54" วันพุธที่ 27 ตุลาคมนี้ เวลา 08.30 - 12.00 น. ณ โรงแรมโซฟิเทล เซ็นทารา แกรนด์ ลาดพร้าว โดยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง "ความเสี่ยงเศรษฐกิจไทยกับการรับมือของรัฐบาล" ส่วนผู้ร่วมสัมมนา "ความเสี่ยงเศรษฐกิจไทยกับการเติบโตของ จีดีพี ปี 54" ประกอบด้วย หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย นายไพบูลย์ นลินทรางกูร ประธานกรรมการ สภาธุรกิจตลาดทุนไทย และนายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล รองประธานคณะกรรมการการบริหารการเงินและกรรมการการลงทุนเครือเจริญโภคภัณฑ์ ดำเนินรายการโดย วีระ ธีระภัทรานนท์ จึงขอเชิญชวนผู้สนใจและประชาชนทั่วไป เข้าร่วมงานสัมมนาโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ
ข้อมูลข่าวและที่มา ผู้สื่อข่าว : ฑีฆะสุดา ภักดี Rewriter : คณิต จินดาวรรณ สำนักข่าวแห่งชาติ กรมประชาสัมพันธ์ : http://thainews.prd.go.th ![]() |
กมธ.วุฒิสภา ลงพื้นที่ จัดสัมมนาเรื่อง “การบังคับใช้กฎหมายกับการจัดการสิ่งแวดล้อม”
21 ต.ค. 53 ประธานคณะกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วุฒิสภา เผย ร่วมกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และสภาทนายความ จัดสัมมนา เรื่อง “การบังคับใช้กฎหมายกับการจัดการสิ่งแวดล้อม” หวัง เผยแพร่ความรู้ทางกฎหมายสิ่งแวดล้อมแก่สมาชิกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน ผู้นำชุมชนและเจ้าพนักงานของรัฐ ณ จังหวัดสมุทรสงคราม 27 ต.ค นี้
นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย ประธานคณะกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วุฒิสภา กล่าวว่าวันพุธที่ 27 ตุลาคม นี้ เวลา 08.00 – 16.30 น. กมธ.จะร่วมกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และสภาทนายความ จัดสัมมนาการมีส่วนร่วมของประชาชน เรื่อง “การบังคับใช้กฎหมายกับการจัดการสิ่งแวดล้อม” ณ โรงแรมบ้านทิพย์สวนทอง รีสอร์ท จังหวัดสมุทรสงคราม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้ทางกฎหมายสิ่งแวดล้อมแก่สมาชิกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน ผู้นำชุมชนและเจ้าพนักงานของรัฐ และเพื่อส่งเสริมให้เกิดกระบวนการพัฒนาการส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการ การรักษา การแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมภายในชุมชนหรือท้องถิ่นของตนเอง ตลอดจนกระตุ้นให้เกิดแนวความคิดเชิงป้องกัน การแก้ไขปัญหาและรวมทั้งการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทโดยสันติ
นายสุรชัย กล่าวด้วยว่า ในการสัมมนาดังกล่าวตนจะปาฐกถาพิเศษเรื่อง “มาตรการทางสังคมกับการจัดการสิ่งแวดล้อม” จากนั้น จะเป็นการอภิปรายเรื่อง “ปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่จังหวัดสมุทรสงคราม” โดยนายปรีชา เจี๊ยบหยู โครงการอนุรักษ์ชุมชนบ้านลมทวน นายวิสูตร นวมศิริ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 10 ตำบลบางแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม นายปัญญา โตกทอง สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลแพรกหนามแดง นายสุภัทร ผลอินหอม กำนันตำบลวัดประดู่ และนาสาวกานดา พาเจริญ เครือข่ายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดสมุทรสงคราม
อัญชิสา จ่าภา ผู้สื่อข่าว
มันทนา ศรีเพ็ญประภา เรียบเรียง
เรียนท่านที่รักบ้านเมือง และสื่อมวลชน จดหมายจากคุณอำนวย สุนทรโชติ
ชมรมค่านิยมเพื่อสร้างชาติ87/2 ถ.ศุขประยูร ต.หน้าเมือง อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา
20 ตุลาคม 53
เรื่อง ขอชี้แจงกรณีน.ส.ศรัญญา ไม่มีสิทธิ์เข้าสอบและข้อเสนอเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในปีต่อๆไป
กราบเรียน ศ.พญ.บุญมี สถาปัตยวงศ์ ประธานคณะอนุกรรมการจัดสอบของกสพท.
ตามที่ท่านได้ให้ข่าวที่ปรากฎบนหน้าหนังสือพิมพ์ในวันที่ 20 ตุลาคม 53 กรณีที่กสพท.ตัดสิทธิ์น.ส.ศรัญญา จันนามวงค์ไม่ให้เข้าสอบนั้น ผมเห็นว่าท่านยังทราบข้อเท็จจริงคลาดเคลื่อนและการที่ท่านยืนยันว่ากรณีนี้เกิดขึ้นทุกปีนั้นแสดงให้เห็นว่าระบบยังมีปัญหาอยู่ผมจึงขอเสนอแนะวิธีการแก้ปัญหาแบบถาวรเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบกับนักเรียนในรุ่นต่อๆไปดังนี้
1.ตามที่ท่านให้ข่าวว่าทางอนุกรรมการได้ช่วยเหลือโดยเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ส่งเอกสารเพิ่มเติมจากเดิมภายในวันที่ 3 กย.53 เป็น 1 ตค.53 แต่นักเรียนไม่ติดตามข่าวทางเว็บไซต์ของกสพท.เองนั้น ผมคิดว่าแนวคิดและการกระทำดังกล่าวยังไม่ถูกต้องเพราะตามประกาศฉบับแรกซึ่งถือเป็นฉบับหลักของกสพท.ที่นักเรียนทุกคนยึดถือนั้นระบุเพียงว่า “ให้ผู้สมัครสอบทุกคนตรวจสอบสถานภาพการสมัคร โดยคลิกที่ link ตรวจสอบสถานภาพการสมัครสอบและสถานที่สอบที่เว็บไซต์ www.9.si.mahidol.ac.th” เท่านั้นในข้อความดังกล่าวข้างต้นไม่ได้ระบุว่าจะต้องเข้าตรวจสอบภายในเมื่อใดฉะนั้นนักเรียนก็สามารถเข้าตรวจสอบเมื่อไรก็ได้ตราบใดที่เป็นการตรวจสอบก่อนการสอบ ฉะนั้นการที่น.ส.ศรัญญาได้เข้าตรวจสอบในวันที่ 15 ตค.53 ซึ่งเป็นระยะเวลา 15 วันก่อนการสอบจึงเป็นเรื่องสมเหตุสมผลแล้ว ประกอบกับข้อความใช้คำว่า “สถานที่สอบ” ทำให้นักเรียนเข้าใจว่าการตรวจสอบจะเป็นการตรวจสอบว่าจะได้สอบในสถานที่ใดเหมือนกับของสทศ.ดังนั้นนักเรียนส่วนใหญ่จึงเข้าใจว่าเป็นการตรวจสอบสถานที่สอบซึ่งจะทำกันเมื่อใกล้การสอบจะมาถึง และผมขอยืนยันท่านว่านักเรียนส่วนใหญ่ที่สมัครสอบกับกสพท.นั้นคิดเข่นนี้และ ณ เวลานี้ก็ยังไม่ได้เข้าไปตรวจดังกล่าวเลย ฉะนั้นการเข้าใจประเด็นนี้ของน.ส.ศรัญญาจึงไม่ได้เกิดจากการตีความผิดของน.ส.ศรัญญาแต่เป็นการเขียนระเบียบไม่ชัดเจนของกสพท.เอง ประกอบกับตารางเวลารับสมัครที่อยู่ในประกาศก็ไม่มีข้อกำหนดว่าให้เข้าไปตรวจสอบได้ภายในเมื่อใดหรือหมดเขตการอุทธรณ์ปัญหาต่างๆเมื่อใดฉะนั้นนักเรียนจึงไม่ได้เข้าใจผิดหรือประมาทแต่อย่างใด
และการที่ท่านกล่าวว่า “นักเรียนไม่ติดตามข่าวสารทางเว็บไซต์ของกสพท.เอง” นั้นผมคิดว่าท่านนั้นมีสมมติฐานที่ผิดอย่างมากต่อนักเรียนและวิธีการรับสมัครระดับชาติ เพราะสิ่งที่ถูกต้องนั้นท่านจะต้องเขียนประกาศให้ครบและชัดเจนตั้งแต่ประกาศฉบับแรกที่ถือเป็นประกาศฉบับหลัก เพราะนักเรียนทุกคนจะยึดถือประกาศฉบับนี้เท่านั้น การมีประกาศใดๆเพิ่มเติมขึ้นมาในภายหลังนั้นมีความเสี่ยงอย่างมากที่นักเรียนทุกคนจะไม่รับทราบประกาศเพิ่มเติมดังกล่าวและจะก่อให้เกิดผลเสียหายอย่างที่กิดขึ้น ซึ่งท่านก็ได้ยืนยันว่ามีเกิดขึ้นทุกปี และการที่ท่านตั้งสมมติฐานว่านักเรียนทุกคนจะต้องเข้าอ่านประกาศทางเว็บไซต์ของกสพท.อยู่เรื่อยๆหลังจากการสมัครและหลังจากการประกาศฉบับแรกแล้วนั้น เป็นสมมติฐานที่สร้างภาระให้กับนักเรียนเป็นอย่างมาก เพราะปัจจุบันนักเรียนทุกคนนั้นมีภาระกิจมากอยู่แล้วทั้งการเรียนและการสอบการจะต้องบังคับให้นักเรียนที่สมัครไปแล้วจ่ายเงินและส่งเอกสารไปเรียบร้อยแล้วต้องมานั่งคอยระวังว่ากสพท.จะมีประกาศเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงอะไรอีกนั้นถือเป็นเรื่องที่สร้างภาระให้กับนักเรียนมากเกินไปและไม่ควรทำอย่างยิ่ง ยิ่งประเทศไทยมีปัญเรื่องการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตโดยเฉพาะในชนบทที่ห่างไกลนั้นการกระทำดังกล่าวถือว่าเป็นเรื่องที่ไม่สมควรอย่างยิ่ง
ฉะนั้นการที่ท่านอ้างว่าท่านได้ยืดระยะเวลาส่งเอกสารออกไปโดยการประกาศทางเว็บไซต์เพิ่มเติมนั้นไม่ถือได้ว่าเป็นการแก้ปัญหาเพราะนักเรียนที่มีปัญหาจะไม่รับทราบประกาศดังกล่าว
2.ผมมีคำถามว่าทำไมการที่เจ้าหน้าที่ของกสพท.ทราบว่ามีนักเรียนไม่ว่ากี่คนก็ตามได้สมัครสอบและจ่ายเงินเรียบร้อยแล้ว แต่ขาดเอกสารแค่บางอย่างนั้น แสดงให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่านักเรียนคนนั้นสนใจที่จะเข้าสอบจริงๆ แต่การรับสมัครทางอินเตอร์เน็ตและการส่งเอกสารทางไปรษณีย์นั้นเป็นการสื่อสารทางเดียว นักเรียนอาจจะสมัครแต่ระบบไม่รับก็ได้ นักเรียนอาจจะจ่ายเงินแต่ท่านไม่ได้รับก็ได้ และนักเรียนอาจจะส่งเอกสารไปครบแต่ท่านได้รับไม่ครบก็ได้ ประกอบกับในใบสมัครนั้นท่านก็มีทั้งเบอร์โทร.ของนักเรียน เบอร์โทรของผู้ปกครอง ที่อยู่ของนักเรียน และอีเมล์ของนักเรียนทำไมท่านไม่เมตตาโทรหรือส่งจดหมายหรืออีเมล์ไปแจ้งนักเรียนที่มีปัญหานั้นซึ่งทำได้ง่ายมากและปัญหาจะจบ ซึ่งจำนวนนักเรียนที่มีปัญหาก็ไม่ควรจะมากจนท่านไม่สมารถติดต่อกลับไปได้ แต่ถ้าท่านจะอ้างว่าจำนวนนักเรียนที่มีปัญหานั้นมีจำนวนมากจนไม่สามารถติดต่อรายบุคคลได้นั้นก็จะแสดงให้เห็นว่าระบบการรับสมัครของท่านนั้นมีปัญหาจริงๆไม่เช่นนั้นคงไม่มีปัญจำนวนมากซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้นท่านก็ควรปรับเปลี่ยนวิธีการรับสมัครให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ประกอบกับค่าสมัครสอบจำนวน 1200 บาทนั้นเมื่อเทียบกับการสอบ GAT/PAT แล้วถือว่าเป็นค่าสมัครที่แพงกว่าของ GAT/PAT เพราะการสอบ GAT/PAT จะเสียค่าสมัครวิชาละ 150 บาทเท่านั้นซึ่งถ้าเป็นการสอบ 5 วิชาของกสพท.ก็ควรเสียค่าสมัครแค่ 750 บาทเท่านั้น และเมื่อการสอบ GAT/PAT ของสทศ.เก็บค่าสมัคร 750 บาทแล้วยังมีกำไรก็แสดงว่าการของของกสพท.น่าที่จะต้องมีกำไรเป็นเท่าทวี และยิ่งไปกว่านั้นการสอบ GAT/PAT ของสทศ.นั้นไปดำเนินการสอบที่ศูนย์สอบในทุกจังหวัดทำให้ยิ่งต้องมีค่าใช้จ่ายมากแต่ยังมีกำไร แต่การสอบของท่านกระทำในศูนย์สอบไม่กี่แห่งก็ยิ่งต้องมีกำไรมากขึ้นไปอีก แล้วเมื่อท่านมีกำไรจำนวนมากทำไมท่านไม่จัดงบประมาณส่วนหนึ่งมาใช้แก้ปํญหาต่างๆที่เกิดขึ้น เช่นการติดต่อกับนักเรียนที่มีปัญหาทางโทรศัพท์หรือทางจดหมายซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายไม่มากเลยเมื่อเทียบกับกำไรที่ท่านได้รับ
3.การที่ท่านกล่าวว่าการที่จะให้น.ส.ศรัญญาได้เข้าสอบนั้น “จะไม่ยุติธรรมกับคนอื่นๆ”นั้นผมไม่เข้าใจว่าการอนุญาตให้นักเรียนที่สมัครและจ่ายเงินเรียบร้อยแล้วได้เข้าสอบนั้นมันไม่ยุติธรรมกับคนอื่นอย่างไร ถ้าท่านจะหมายความว่าท่านก็ถือปฏิบัติเช่นนี้กับนักเรียนจำนวนมากที่มีปัญหาจนนักเรียนเหล่านั้นไม่สามารถเข้าสอบได้แล้ว ก็ต้องถือเป็นเรื่องที่น่าตื่นตระหนกว่าท่านได้สร้างระบบและกติกาที่ส่งผลให้นักเรียนจำนวนมากไม่ได้เข้าสอบและเป็นเช่นนี้มาหลายปีแล้ว ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้นจริงท่านควรกลับไปแก้ไขที่ระบบไม่ใช่โยนบาปไปให้นักเรียน โดยหลักการการสร้างกติกาสาธารณะแล้วการสร้างระบบหรือกติกาใดๆจะต้องยึดหลักว่าคนที่อ่อนแอที่สุดในสังคมจะต้องได้รับความสะดวกจากระบบนั้นได้ ไม่ใช่คิดแค่เพียงว่าถ้ามีคนจำนวนมากปฏิบัติได้ก็ถือได้ว่าเป็นระบบที่ยุติธรรมแล้ว
ผมขอยืนยันกับท่านว่าการสอบเข้ามหาวิทยาลัยนั้นถือเป็นเรื่องใหญ่ที่สุดเรื่องหนึ่งในชีวิตของคนคนหนึ่ง เมื่อเกิดความผิดพลาดขึ้นก็จะเป็นรอยบาปที่ติดตัวเขาไปตลอดชีวิต ซึ่งประเด็นนี้ยิ่งเมื่อได้เกิดขึ้นกับใครด้วยตนเองหรือเกิดกับลูกหลานของเขาเขาก็จะเข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงความเจ็บปวดดังกล่าว ดังนั้นเพื่อไม่ให้เกิดปัญหากับนักเรียนในปีถัดๆไป ผมจึงขอเสนอวิธีการแก้ปัญหาดังนี้
ก. กำหนดกติกาให้ชัดเจนว่านักเรียนแต่ละคนจะต้องทำอะไรเมื่อไร และต้องไม่เปลี่ยนแปลงกติกาอีก เพื่อนักเรียนจะได้ไม่ต้องคอยระวังที่จะต้องเข้าเช็คเว็บไซต์เป็นระยะๆเพราะกลัวว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงกติกา
ข. ถ้าท่านยังยืนยันที่จะใช้ระบบการรับสมัครแบบการสื่อสารทางเดียวแบบนี้ ควรแบ่งกำไรจำนวนหนึ่งมาเป็นค่าใช้จ่ายในการติดต่อกับนักเรียนที่มีปัญหา
และสุดท้ายนี้ผมขอเรียนให้ท่านทราบว่าขณะนี้อนาคตของนักเรียนจำนวนหนึ่งกำลังขึ้นอยู่กับความเมตตาของท่าน เพียงแค่ท่านยอมลำบากในการแก้ไขเอกสารเพียงเล็กน้อยก็จะทำให้พวกเขาเหล่านั้นได้มีอนาคตที่สวยงามต่อไป
อำนวย สุนทรโชติ
โทร.0865676052
Wed, 2010-10-13 20:16
สถานที่: ห้องประชุมสภาพัฒนาการเมือง ชั้น ๔ สภาพัฒนาการเมือง ศูนย์ราชการฯ
9.00 – 9.20 น. ละครข้างสุเหร่า "การเมืองดี...ชีวิตดี"
9.20 – 9.45 น. ดร.ลัดดาวัลย์ ตันติวิทยาพิทักษ์ รองประธานสภาพัฒนาการเมือง กล่าวต้อนรับและแนะนำสภาพัฒนาการเมือง
9.45 – 10.00 น. นำเสนอข้อค้นพบจากงานวิจัย "เยาวชนชายขอบหญิงชายกับการมีส่วนร่วมพัฒนาประชาธิปไตย"
10.00 – 11.30 น. เวทีเยาวชนเพื่อนำเสนอประเด็นสาธารณะที่สำคัญและห่วงใยของเยาวชนจากพื้นที่ชายขอบ
11.30 – 12.30 น. "เยาวชนชายขอบร่วมแลกเปลี่ยนกับผู้ใหญ่เมือง": รับฟังและแลกเปลี่ยนแนวทางการแก้ปัญหาของพื้นที่กับผู้แทนองค์กรที่เกี่ยว ข้อง
------------------------------------------------------------------------
สถานที่: อาคารรัฐสภา
12.00 – 13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน
13.00 – 14.30 น. เยาวชนชายขอบร่วมแลกเปลี่ยนกับนักการเมืองในรัฐสภา: เวทีเยาวชนเพื่อนำเสนอข้อห่วงใย/ประเด็นคำถาม และแลกเปลี่ยนแนวทางการแก้ไขปัญหาของพื้นที่กับผู้แทนองค์กรที่เกี่ยวข้อง
อาคารรัฐสภา ๒ ห้อง ๓๐๓ เยาวชนจากสามจังหวัดชายแดนใต้ พบกับ สส. สว. ที่มาจาก สามจังหวัดชายแดนใต้
อาคารรัฐสภา ๒ ห้อง ๓๐๔ เยาวชนฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พบกับ นักการเมืองที่เกี่ยวข้องในประเด็นทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
อาคารรัฐสภา ๒ ห้อง ๓๐๕ เยาวชนพบกับนักการเมืองที่เกี่ยวข้องกับประเด็นธรรมาภิบาลและสิทธิมนุษยชน
14.30 – 14.45 น. ยื่นหนังสือให้กับผู้แทนรัฐบาล
14.45 – 15.00 น. เยาวชนชายขอบ: แถลงข่าวต่อสื่อมวลชน
----------------------------------------------------------------------
สถานที่: วีเทรน อินเตอร์เนชั่นแนลเฮ้าส์
15.30 – 16.00 น. กิจกรรมสันทนาการ
16.00 – 18.00 น. กิจกรรม "World Café" เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับเยาวชนเมือง
18.30 – 21.30 น. อาหารเย็น และ กิจกรรม/การแสดงศิลปวัฒนธรรม
*เครือข่ายเยาวชนชายขอบเพื่อพัฒนาประชาธิปไตย 17 องค์กร
ภาคเหนือ
1. กลุ่มตะกอนยม "โครงการศึกษาวิถีชุมชน ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้"
2. มูลนิธิพัฒนาชุมชนและเขตภูเขา "โครงการเสริมความรู้ทางด้านกฎหมายเพื่อแก้ไขปัญหาด้านสถานะและสิทธิมนุษยชนจังหวัดเชียงราย"
3. ศูนย์ปฏิบัติการร่วมเพื่อแก้ไขปัญหาประชาชนบนพื้นที่สูง "โครงการพัฒนาศักยภาพเด็กและเยาวชนชนเผ่าพื้นเมืองในการจัดการที่ดินในเขต ป่าโดยรูปแบบโฉนด"
4. สมาคมศูนย์รวมการศึกษาและวัฒนธรรมของชาวไทยภูเขาในประเทศไทย "พัฒนาศักยภาพเยาวชนชนเผ่าเพื่อให้เข้าถึงกลไกและการบริการขององค์การบริหาร ส่วนตำบล"
ภาคอีสาน
1. กลุ่มเผยแพร่กฎหมายสิทธิมนุษยชนเพื่อสังคม (ดาวดิน) (1) "โครงการพัฒนาทักษะแกนนำเยาวชนในการส่งเสริมประชาธิปไตย" (2) "โครงการโรงเรียนการเมือง ประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน" (3) โครงการค่ายสิทธิมนุษยชนเพื่อคนรุ่นใหม่"
2. เครือข่ายที่ดินสมัชชาคนจน "โครงการเสริมสร้างขบวนการเรียนรู้การทำงานทางสังคมของเยาวชนหญิงชายในอีสาน"
3. Friend of Activist Network "โครงการสื่อสร้างสรรค์สะท้อนปัญหาเขื่อนโปร่งขุนเพชร"
อันดามัน
1. เครือข่ายเยาวชนอ่าวพังงา "โครงการค่ายฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการรณรงค์และส่งเสริมประชาธิปไตยในระดับท้องถิ่น"
2. องค์กรความร่วมมือเพื่อการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติอันดามัน (1) "โครงการพัฒนาความร่วมมือภาคีสนับสนุนเพื่อการเสริมสร้างศักยภาพกลุ่มเยาวชน อันดามัน" (2) "โครงการสร้างศักยภาพกลุ่มเยาวชนอันดามันและเครือข่ายเพื่อการพัฒนา ประชาธิปไตย"
3. เยาวชนกลุ่มเทียนไข "โครงการเยาวชนส่องสว่างสู่ชุมชน"
4. มูลนิธิประทีปธรรมเพื่อการศึกษา "การเมืองดี...ชีวิตดี โดยกลุ่มสื่อสาธารณะตัวน้อย"
สามจังหวัดชายแดนใต้
1. กลุ่มเยาวชนวิจัยเพื่อประชาธิปไตย "โครงการเยาวชนรุ่นใหม่ใส่ใจประชาธิปไตย"
2. กลุ่มผู้หญิงกับสันติภาพ "โครงการสื่อวิทยุชุมชนสร้างสรรค์ประชาธิปไตยชุมชน"
3. เครือข่ายอาสาสมัครผู้ช่วยทนายความ ศูนย์ทนายความมุสลิมจังหวัดชายแดนใต้ "โครงการเยาวชนจิตสาธารณะสู่การพัฒนาประชาธิปไตยที่ยั่งยืน"
4. เครือข่ายบัณฑิตอาสาพัฒนาสังคมจังหวัดชายแดนใต้ (1) " โครงการครูอาสาพัฒนาตาดีกา จังหวัดชายแดนภาคใต้" (2) "โครงการสื่อ InSouth สื่อทางเลือกชายแดนใต้"
5. มูลนิธิวัฒนธรรมอิสลามภาคใต้ "โครงการสร้างเสริมศักยภาพเยาวชนสู่การเรียนรู้ประชาธิปไตยทางการเมือง"
6. สหพันธ์นิสิตนักศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ "โครงการสานสัมพันธ์นิสิตนักศึกษาชายแดนใต้เพื่อสันติภาพ"
|
กำหนดการกิจกรรม
งานเทคโนโลยีและนวัตกรรมของไทย ประจำปี 2553
วันพุธที่ 20 ตุลาคม 2553 เวลา 10.00 – 19.00 น.
ณ อาคาร ชาเลนเจอร์ 2 อิมแพ็ค เมืองทองธานี
9.00 - 12.00 น. | Consultative Workshop on Promotion of National Innovation Systems in the Least Developed Countries of the Asia-Pacific Region ฝึกอบรมอาชีพ |
13.00 - 17.00 น. | Consultative Workshop on Promotion of National Innovation Systems in the Least Developed Countries of the Asia-Pacific Region Workshop เทคนิคเป่าขลุ่ยแนวใหม่ โดย อ. ธนิสร์ ศรีกลิ่นดี (ห้องจูปิเตอร์ 5) การฝึกฝนทางอาชีพ โชว์ นวัตกรรมจาก อพวช. (เวทีกลาง) |
<< กำหนดการ แบบตอบรับ >> |
สัมนาสาธารณะ : กลไกปฎิรูปสื่อภาคพลเมือง
วันพุธที่ 6 ตุลาคม 2553
จัดโดย คณะกรรมการพัฒนาส่งเสริมสิทธิเสรีภาพและความรับผิดชอบสื่อมวลชน ร่วมกับเครือข่ายปฎิรูปสื่อภาคพลเมือง
1. หลักการและเหตุผล
วิกฤติ การณ์ของสังคมที่มีความซับซ้อนและสะสมมายาวนาน ส่งผลให้เกิดปัญหาเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมหลายด้าน จนกระทั่งเกิดความขัดแย้งทางด้านความคิดและการเมืองอย่างรุนแรง ในระยะ 2-3 ปีที่ผ่านมา จึงมีกระแสการเรียกร้องให้มีการปฏิรูปประเทศไทยในทุกด้านอย่างจริงจัง และ” การปฏิรูปสื่อ”เป็นเรื่องหนึ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่งที่ต้องเร่งดำเนินการ ให้เกิดผล เพื่อให้สื่อได้ทำบทบาทหน้าที่อย่างเหมาะสมและร่วมนำพาประเทศชาติให้หลุดพ้น วิกฤติและก้าวไปข้างหน้า
ดังที่ทราบกันดีว่า ในอดีตมีความพยายามในการผลักดันการปฏิรูปสื่อมาไม่ต่ำกว่าทศวรรษ มีการปรับปรุงและพัฒนากฏหมายหลายฉบับ มีความพยายามจัดการเรื่องโครงสร้าง ความเป็นเจ้าของสื่อ การพัฒนามาตรฐานจรรยาบรรณ ในสื่อต่างๆ ฯลฯ กระนั้นการปฏิรูปก็ยังไม่สำเร็จตามเป้าหมาย เพราะการปฏิรูปสื่อนั้นต้องดำเนินการร่วมกันทุกฝ่าย และในทุกกระบวนการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญของการปฏิรูปและการพัฒนาที่ยั่งยืน
จะเห็น ว่าในระยะหลังๆ ภาคประชาชนหลายกลุ่ม เริ่มเข้ามามีบทบาทในการเฝ้าระวังตรวจสอบสื่อ แต่ยังสร้างการเปลี่ยนแปลงของสื่อได้ไม่มากนัก เพราะมีอุปสรรคและช่องว่างหลายประการ อาทิ ขาดการยอมรับจากองค์กรสื่อและองค์กรรัฐ ไม่ทันต่อสถานการณ์ของสื่อที่มีความรวดเร็วสูง มีลักษณะต่างคนต่างทำ ฯลฯ ที่สำคัญประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่ตระหนักถึงผลกระทบของสื่อ และไม่เห็นความสำคัญของการมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังและตรวจสอบสื่อ
แนว โน้มในอนาคต เทคโนโลยีการสื่อสารจะมีการเติบโตและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว สื่อรูปแบบใหม่ๆจะเข้าถึงชุมชนอย่างกว้างขวาง สื่อจะมีบทบาทมากยิ่งขึ้นในวิถีชีวิตของผู้คน ทำอย่างไร ประชาชนจึงจะตระหนักในเรื่องนี้ มีการเรียนรู้เท่าทันสื่อ มีบทบาทมากขึ้นในการตรวจสอบการทำหน้าที่ของสื่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ
นอกจากกลไกตามกฏหมาย กลไกการตรวจสอบกันเองของสื่อฯแล้ว กลไกโดยภาคประชาชนจะต้องมีความเข้มแข็ง เป็นระบบ มีความต่อเนื่องยั่งยืน มีการเชื่อมโยงการทำงานจากคณะทำงานหลากหลายสาขา และตรวจสอบสื่อหลากหลายประเภท ที่สำคัญให้มีส่วนร่วมจากภาคประชาชนอย่างกว้างขวาง
2. วัตถุประสงค์
1. เพื่อระดมความคิดเห็นจากภาคส่วนต่างๆในการสร้างกลไกเฝ้าระวังและตรวจสอบสื่อโดยการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม
2. เพื่อระดมความคิดเห็นเรื่องการจัดตั้งองค์กรผู้บริโภคสื่อ บทบาทหน้าที่ โครงสร้าง รูปแบบการทำงาน
3. เพื่อเผยแพร่แนวคิดเรื่องการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมในการเฝ้าระวังและตรวจสอบสื่อ
3. รูปแบบการจัดงาน
เวทีสัมมนาระดมความคิดเห็นกลุ่มใหญ่และกลุ่มย่อย
4. ผู้เข้าร่วมงาน
ประมาณ 200 คน ประกอบด้วยผู้แทนจากองค์กรและเครือข่ายที่ทำงานด้านการเฝ้าระวังสื่อ การใช้สื่อเพื่อการเรียนรู้ ทั้งส่วนกลางและภูมิภาค นักวิชาการด้านนิเทศศาสตร์ สื่อของรัฐ สื่อภาคธุรกิจ สื่อภาคประชาชน หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง สมาคมวิชาชีพสื่อ ฯลฯ
5. วัน เวลา สถานที่
วันพุธที่ 6 ตุลาคม 2553 เวลา 09.00- 17.00 น. ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น
ดอนเมือง กรุงเทพฯ
6. ผู้รับผิดชอบโครงการ
คณะทำงานพัฒนากลไกการเฝ้าระวังการทำหน้าที่ของสื่อมวลชน ใน คณะกรรมการพัฒนาส่งเสริมสิทธิเสรีภาพและความรับผิดชอบสื่อมวลชน(คพส .) ร่วมกับเครือข่ายปฎิรูปสื่อภาคพลเมือง สนับสนุนโดย แผนงานสื่อสร้างสุขภาวะเยาวชน (สสย.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
7. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. ข้อเสนอแนะในเรื่องยุทธศาสตร์การทำงานเฝ้าระวังสื่อฯ และกลไก /องค์กรผู้บริโภคสื่อ
2 . รูปแบบความร่วมมือและการเชื่อมโยงของเครือข่าย
3. สื่อมวลชนช่วยเผยแพร่แนวคิดเรื่องการมีส่วนร่วมของผู้บริโภคสื่อในการเฝ้าระวังการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนอย่างกว้างขวาง
สัมนาสาธารณะ : กลไกปฎิรูปสื่อภาคพลเมือง
วันพุธที่ 6 ตุลาคม 2553
จัดโดย คณะกรรมการพัฒนาส่งเสริมสิทธิเสรีภาพและความรับผิดชอบสื่อมวลชน(คพส.) ร่วมกับเครือข่ายปฎิรูปสื่อภาคพลเมือง
ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น ดอนเมือง กรุงเทพฯ
ผู้บริหารที่ต้องการดำเนินธุรกิจโดยนำเอาแนวคิด Sustainablity เข้ามาประยุกต์ใช้แต่ไม่รู้ว่าจะวางแผนอย่างไร งานเสวนาครั้งนี้มีคำตอบให้
ในการสัมมนาครั้งนี้เราจะแนะนำให้รู้จักกับ AtKisson Accelerator ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการสนับสนุนการฝึกอบรม การวางแผน การประเมินและตัดสินใจเพื่อนำเอา Sustainablity มาผสมผสานในการทำธุรกิจ เครื่องมือนี้ได้ผ่านการทดลองการใช้งานในองค์กรต่างๆทั้งภาคธุรกิจ หน่วยงานรัฐบาล ชุมชน โรงเรียน มหาวิทยาลัย และองค์กรขนาดเล็ก เครื่องมือ Accelerator ได้ พิสูจน์ให้เห็นถึงการใช้งานได้ดีในต่างวัฒนธรรมและต่างประเภทขององค์กร ตั้งแต่ บริษัทในอินโดนีเซีย ญี่ปุ่น ยุโรปและสหรัฐอเมริกา จนถึง ชุมชน เทศบาลท้องถิ่น รัฐบาล โรงเรียนและมหาวิทยาลัยในยุโรป อเมริกา แอฟริกา มาเลเซีย ออสเตรเลีย ไทยและ สหราชอาณาจักร เครื่องมือนี้สามารถใช้ร่วมกับ GRI (Global Reporting Initiative) หรือ Balanced Scorecard การสัมมนาในครั้งนี้ผู้เข้าอบรมจะได้เรียนรู้ AtKisson Accelerator ในเบื้องต้นจากการบรรยายและทำ workshop เพื่อช่วยให้การเดินทางเริ่มต้นง่ายขึ้น สำหรับธุรกิจที่ได้เริ่มออกสตาร์ทมาแล้วก็จะเป็นเครื่องนำทางให้ท่านดำเนินการต่อจนประสบผลสำเร็จ
13.00-13.30 น. | ลงทะเบียน |
13.30-13.40 น. | แนะนำภาพรวมของกิจกรรม |
13.40-14.20 น. | Session 1: Doing Sustainability . . . challenges, steps, tools, and methods นำเสนอทฤษฏีและแนวคิดที่เป็นพื้นฐานด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนทบทวนกรอบแนวคิด Sustainability เช่น Triple Bottom Line (TBL), The Natural Step (TNS) and Global Reporting Initiative (GRI) ตลอดจนความท้าทาย ขั้นตอน เครื่องมือ และวิธีการ |
14.20-15.15 น. | Session 2: The Sustainability Compass (กิจกรรมกลุ่มย่อย) แนะนำให้รู้จัก Sustainability Compass เครื่องมือนำทางที่ทำให้เห็นภาพการเชื่อมโยงระหว่างตัวปัญหาที่มาจากทุกสาร ทิศคือ N=Nature E= Economy W=Wellbeing และ S= Society อันอาจส่งผลต่อการดำเนินงานในด้านต่างๆเช่น การออกแบบผลิตภัณฑ์ การผลิต การตลาด การลำเลียงและการใช้วัตถุดิบ ความต้องการของลูกค้า การจัดจำหน่าย การลงทุนเพิ่ม ฯลฯ มีการทำกิจกรรมกลุ่มเพื่อให้ทุกคนได้ทดลองใช้เครื่องมือเพื่อฝึกฝนให้เห็น ปัญหา ผลกระทบของปัญหาเหล่านั้น คิดหาสาเหตุที่ก่อให้เกิดปัญหา และทำการเปลี่ยนแปลงเพื่อหาทางป้องกันปัญหา |
15.15-15.30 น. | Coffee Break บริการที่ห้องอาหารโดมพระจันทร์ ชั้น 2 |
15.30-16.00 น. | Session 3: An overview of ISIS Sustainability ACCELERATOR Tools แนะนำให้รู้จัก ISIS Sustainability Accelerator เครื่องมือที่ช่วยให้เกิดการเรียนรู้ เข้าใจปัญหา รู้ทางออก สามารถกำหนดกลยุทธ์และเร่งลงมือเปลี่ยนแปลงเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่าง ยั่งยืน |
16.00-16.15 น. | สรุปประเด็นสำคัญจากการเสวนา |
16.15-16.30 น. | ถาม-ตอบ |