ใครๆก็แก้กฎหมายได้(คุณก็ด้วย)
Bookmark and Share

วันอังคารที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

เชิดชูเกียรติอาจารย์ยุ่น วันพุธที่ 5 สิงหาคม 2552 นี้ ณ หอศิลป์ ถนนเจ้าฟ้า


เชิดชูเกียรติ “อาจารย์ยุ่น” ศิลปินผู้ปิดทองหลังพระ
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 20 กรกฎาคม 2552 19:01 น.
       เมื่อเอ่ยถึง“อาจารย์ยุ่น” คนในวงการศิลปะทุกคนต้องร้อง“อ๋อ” เพราะรู้จักกันดีว่าคือใคร แต่สำหรับคนนอกวงการอาจจะ“งง” และมีคำถามว่าท่านผู้นี้คือใคร ทำอะไรให้กับวงการศิลปะที่ต้องพูดถึงในวันนี้
       
       อาจารย์ยุ่น...คือใคร
       
       อาจารย์ยุ่น คือ ชายที่ใส่แว่นหนาเตอะ มีหนวดเคราเต็มใบหน้า มีชื่อจริงว่า วีรเดช พนมวัน ณ อยุธยา รับราชการประจำอยู่ที่หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ควบคู่ไปกับการสอนหนังสือให้กับคณะต่างๆ  เติบโตมาจากครอบครัวที่มีคุณพ่อเป็นอดีตผู้พิพากษาหัวหน้าศาล จบการศึกษาจากโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียน ต่อด้วยโรงเรียนช่างศิลป์ กระทั่งศึกษาจบจากคณะจิตรกรรม ประติมากรรม และภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร จึงเข้ารับราชการที่หอศิลป์ของมหาวิทยาลัยฯ
       
       อาจารย์ยุ่น...ทำอะไร
       
       รู้ประวัติแล้ว หลายคนอาจสงสัยว่าอาจารย์ยุ่น ทำอะไรให้กับวงการศิลปะ?
       คำตอบคือ ทำงานด้านการส่งเสริมกิจกรรมศิลปะ ช่วยจัดการงานประกวดศิลปะและจัดงานแสดง โดยทำตั้งแต่การวางกฎเกณฑ์การประกวด หาคณะกรรมการตัดสินผลงาน รับผลงาน ตัดสินผลงาน หาที่แสดงผลงาน จัดพิธีเปิด มอบรางวัลและการจัดแสดงผลงาน โดยสรุปอาจารย์ยุ่น ทำทุกอย่างตั้งแต่ต้นจนจบของงานประกวดศิลปกรรมและทำมา กว่า 25 ปี โดยไม่เคยเว้นแม้แต่ปีเดียว
       
       ทำให้ใครและเพื่อใคร?
       

       ที่ผ่านมาอาจารย์ยุ่นได้ช่วยหน่วยงานภาครัฐและเอกชนจัดประกวดศิลปกรรมทั้งระดับประเทศและระดับนานชาติ” จำนวนมาก ที่เรารู้จักกันดี เช่น การประกวดศิลปกรรมของ ปตท., ธนาคารกรุงเทพ, ธนาคารกสิกรไทย,พานาโซนิค และการประกวดศิลปกรรมแห่งชาติ ส่วนการประกวดระดับนานาชาติ เช่น การจัดประกวดศิลปกรรมอาเซียน(ASEAN Arts Awards) และการประกวดศิลปกรรม Nokia
       
       ว่ากันว่าการช่วยจัดการประกวดศิลปกรรมของอาจารย์ยุ่นมีส่วนช่วยสนับสนุน และสร้างโอกาสให้กับศิลปินมากกว่าปีละ 2,000 คน ให้ได้มีโอกาสสร้างสรรค์และส่งผลงานเข้าประกวดในเวทีต่างๆ ซึ่งถือเป็นการสร้างศิลปินรุ่นใหม่จำนวนมากขึ้นมาประดับวงการศิลปะ ขณะเดียวกันประชาชนคนไทยก็ได้ประโยชน์มีโอกาสได้ชื่นชมผลงานการสร้างสรรค์เหล่านั้น
       
       นอกเหนือจากนี้ ยังเป็นที่พึ่งพาของเหล่าศิลปินรุ่นน้องด้วยการให้คำปรึกษาด้านการจัดแสดงผลงาน วิจารณ์ผลงาน และบางครั้งก็ช่วยขายผลงานให้อยู่เนืองๆ ซึ่งเป็นภาระกิจที่ยิ่งใหญ่ของการขับเคลื่อนวงการศิลปะให้เคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา
       
       งาน“ปิดทองหลังพระ”เหล่านี้ หลายคนอาจคิดว่าอาจารย์ยุ่นคงได้รับค่าตอบแทนที่เป็นตัวเงินจำนวนมหาศาล แต่ทุกคนอาจจะต้อง “แปลกใจ” ถ้ารู้ว่า อาจารย์ยุ่นทำให้ โดยไม่คิดมูลค่า และบางครั้งยังใช้งบส่วนตัวช่วยในการทำงานอีกด้วย
       
       เชิดชูเกียรติอาจารย์ยุ่น
       
       ด้วยเหตุนี้ คนกลุ่มหนึ่งที่มีทั้งนิสิตนักศึกษา ครูบาอาจารย์ ศิลปิน ศิลปินอาวุโส ศิลปินแห่งชาติที่ทำงานให้กับ กองทุนส่งเสริมการศึกษาการสร้างสรรค์ศิลปะ “มูลนิธิรัฐบุรุษ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์” ที่อาจารย์ยุ่นมีส่วนริเริ่มก่อตั้งกองทุนฯนี้ตั้งแต่ต้นเมื่อเกือบ 10 ปีมาแล้ว ได้เห็นความสำคัญของอาจารย์ยุ่น จึงมีมติจัดงานเชิดชูเกียรติ์ให้ในวันที่ 5 สิงหาคม 2552 นี้ ณ หอศิลป์ ถนนเจ้าฟ้า ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการจัดแสดงนิทรรศการ Art Camp ของกองทุนฯ โดยมี พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ องคมนตรีเป็นประธานเปิดงาน
       
       งานดังกล่าวนี้จะมีผลงานของอาจารย์ยุ่น จำนวน 27 ผลงาน จัดแสดงร่วมกับผลงานใหม่ของศิลปินที่เคยได้รับทุนของกองทุนฯจำนวน 127 ผลงาน ตั้งแต่วันที่ 5 – 30 สิงหาคม พ.ศ.2552
       
       กองทุนส่งเสริมการศึกษาการสร้างสรรค์ศิลปะ “มูลนิธิรัฐบุรุษ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์” จึงถือโอกาสเชื้อเชิญทุกคนไปร่วมเชิดชูเกียรติและชมผลงานของอาจารย์ยุ่น
       


ผลงานชื่อ Untitled เทคนิคสีน้ำมันบนผ้าใบ
       

ผลงานชื่อ “จากนก หมายเลข ๒” เทคนิคผสม
       

ผลงานชื่อ “เกษตรพอเพียง / Sufficient Agriculture” เทคนิคผสม
       

ผลงานชื่อ “บัว ๔ เหล่า/ Image Lotus” เทคนิคผสม
http://www.manager.co.th/MetroLife/ViewNews.aspx?NewsID=9520000082023

--
ขอเชิญอ่าน blog.Thank you so much.
http://www.sanamluang.bloggang.com
http://tham-manamai.blogspot.com
http://lifeanddeath2mcu.blogspot.com
http://www.parent-youth.net
http://www.tzuchithailand.org
http://www.presscouncil.or.th
http://ilaw.or.th
www.patani-conference.net
http://www.thaihof.org
http://thainetizen.org
http://www.ictforall.org
http://elibrary.nfe.go.th
http://dbd-52.hi5.com
http://www.thaisara.com
http://www.rmutr.ac.th
http://www.bedo.or.th/default.aspx
www.chula.ac.th/visitors/thai/calendar.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ติดตาม

คลังบทความของบล็อก