กิจกรรม EU Green Days •
งานนิทรรศการภาวะโลกร้อน
1-11 ตุลาคม 2552ณ ลานหน้าห้างเซน เซ็นทรัลเวิล์ด (Zen, Central World Plaza)
สำนัก งานคณะกรรมาธิการยุโรปประจำประเทศไทย จะจัดแสดงงานศิลปะและข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับภาวะโลกร้อนขึ้น ณ บริเวณลานหน้า เซน เซ็นทรัลเวิล์ด ซึ่งหนึ่งในไฮไลท์ของงานคือการจัดแสดงภาพถ่ายของนักศึกษาที่ชนะการประกวดจาก ทั่วประเทศภายใต้โครงการ "Climate Change – Reality, Treat and Hope" นอกจากนี้ยังมีนิทรรศการอื่นๆ ที่น่าสนใจที่จัดขึ้นโดยสถานเอกอัครราชทูตสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีและสถาน ทูตฟินแลนด์ในกรุงเทพฯ และโครงการทางสิ่งแวดล้อมที่ได้รับการสนับสนุนจากสหภาพยุโรป ไว้ให้ชมกันอีกด้วย
คอนเสิร์ต "What on Earth!—เป็นอะไรไปโลกใบนี้!" และงานคลับไนท์
2 ตุลาคม 2552 (คลับไนท์) เวลา 21.00-02.00 ณ Club Culture ถ. ศรีอยุธยา3 ตุลาคม 2552 (คอนเสิร์ต) เวลา 19.00-22.00 ณ บริเวณลานหน้า ห้างเซ็น เซ็นทรัลเวิล์ด
วันเสาร์ที่ 3 ตุลาคม ณ บริเวณลานหน้า เซน เซ็นทรัลเวิล์ด สำนักงานคณะกรรมาธิการยุโรปประจำประเทศไทยจะจัดคอนเสิร์ตกลางแจ้งเพื่อ รณรงค์การมีส่วนร่วมในการช่วยกันลดโลกร้อน โดยมีนักร้องชื่อดังอย่าง ทาทา ยัง, แทททูคัลเลอร์, สครับ, ริชแมน ทอย และศิลปินชั้นนำอื่นๆ มาให้ความสนุกกันแบบฟรีๆ และมีสาระ นอกจากดนตรีแล้ว ยังมี VTR และ ข้อคิดดีๆ ในการช่วยกันรักษาโลกของเราอีกด้วย คาดว่าจะมีผู้สนใจเข้าร่วมงานนี้นับพันคน—ทั้งนี้ท่านสามารถรับชมบรรยากาศใน งานได้ทาง Channel (V) และเพื่อเป็นการอุ่นเครื่องเตรียมตัวสนุกกับคอนเสิร์ต ก่อนหน้านี้หนึ่งวันคุณจะได้พบกับงาน "คลับไนท์" ซึ่งเป็นการผสมผสานกันอย่างลงตัวระหว่างการวาดลวดลายของดีเจชั้นนำจากยุโรป และ บรรยกาศแบบ "กรีนธีม" ซึ่งจะทำให้คุณอินเทรนด์ด้วยการใส่ใจกับเรื่องภาวะโลกร้อน
กิจกรรมสำหรับวัยเรียน
3 ตุลาคม 2552 เวลา 13.00 – 16.00ทีเคพาร์ค (TK Park) เซ็นทรัลเวิล์ด
เด็กๆ ในวันนี้คือผู้ใหญ่ในวันหน้า ด้วยความเชื่อที่ว่าพวกเขาเหล่านี้จะมีบทบาทอย่างมากในการจัดการกับปัญหา ภาวะโลกร้อนในอนาคต หน่วยงานให้ความช่วยเหลือทางด้านมนุษยธรรม ของคณะกรรมาธิการยุโรป จะจัดกิจกรรมยามบ่ายสนุกๆ ให้เด็กๆ มีความเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพทางภูมิอากาศ กิจกรรมนี้สำหรับน้องๆ ที่มีอายุตั้งแต่ 7 ถึง 15 ปี
เสวนา เรื่อง "เส้นทางสู่โคเปนเฮเกน – มุมมองในการเจรจาระดับโลกเพื่อลดภาวะโลกร้อน"
6 ตุลาคม 2552 (สำหรับแขกเชิญเท่านั้น)กระทรวงการต่างประเทศ
เป้าหมายของการประชุมว่าด้วยเรื่องสภาพทางภูมิอากาศ ของโลก ณ กรุงโคเปนเฮเกน (Copenhagen Climate Conference) ช่วงปลายปี 2552 นี้ คือการหาข้อสรุปชุดใหม่เกี่ยวกับมาตราการและความรับผิดชอบระหว่างประเทศต่อ ภาวะโลกร้อนที่จะมาทดแทนความตกลงเดิมที่กำลังจะหมดลงในปี พ.ศ. 2555 ทั้งนี้ จำเป็นต้องมีมาตรการต่างๆ มารองรับอย่างเร่งด่วน เนื่องจากตอนนี้สภาพอากาศได้เกิดความแปรปรวนเป็นอย่างมาก ถ้ามีความล่าช้าในการลงนามในความตกลงก็จะทำให้เกิดความล่าช้าในการแก้ไข ปัญหาภาวะโลกร้อนตามไปด้วย เห็นได้ชัดว่าสหภาพยุโรปเป็นผู้นำในการลดภาวะโลกร้อน เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2551 ที่ผ่านมา สหภาพยุโรปได้กำหนดใช้นโยบายที่เน้นการลดภาวะโลกร้อนและการใช้พลังงานแบบ บูรณาการ ซึ่งเป็นการตั้งเป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้มากที่สุดภายใน ปี พ.ศ. 2563
งานเสวนาครั้งนี้มีกระทรวงการต่างประเทศเป็นเจ้าภาพ โดยผู้แทนคณะกรรมาธิการยุโรปในการเจรจาว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพทางภูมิ อากาศ จะมาแสดงความเห็นเกี่ยวกับสถานะของการเจรจาว่าด้วยเรื่องโลกร้อนที่ทาง สหประชาชาติจัดขึ้นและให้ความเห็นว่าประเด็นใดที่ยังเป็นทางตันอยู่ในขณะที่ ทุกฝ่ายกำลังพยายามจะจัดเตรียมทุกอย่างให้พร้อมสำหรับการประชุมที่กรุง โคเปนเฮเกน ผู้แทนจากสำนักงานคณะผู้แทนคณะกรรมาธิการยุโรปประจำประเทศไทย สำนักเลขาธิการสิ่งแวดล้อมประจำภูมิภาคเอเชียของประเทศสวีเดน (Swedish Environment Secretariat) และผู้แทนจากรัฐบาลอังกฤษ (tbc) จะร่วมอภิปรายการดำเนินงานของสหภาพยุโรปที่เกี่ยวกับภาวะโลกร้อนในประเทศไทย และอาเซียน ตลอดจนความร่วมมือในอนาคต
ผู้เสวนาหลัก คือ นาย อาร์ทัว รุงเงอร์ เมทซ์เกอร์ (Artur Runge Metzger), ผู้แทนคณะกรรมาธิการยุโรปในการเจรจาว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพทางภูมิอากาศ นายแอนเดอร์ส แกรนลุนด์ (Anders Granlund) ผู้อำนวยการสำนักเลขาธิการสิ่งแวดล้อมประจำภูมิภาคเอเชียแห่งสวีเดน นายจอห์น เพียร์ซัน (John Pearson) หัวหน้าเครือข่ายการเปลี่ยนแปลงสภาพทางภูมิอากาศ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และู้ผู้้แทนจากรัฐบาลอังกฤษ (tbc)
บรรยายเรื่อง การเปลี่ยนแปลงสภาพทางภูมิอากาศ: ภัยพิบัติและการเตรียมความพร้อม
7 ตุลาคม 2552 เวลา 10.00 – 12.00สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทย (FCCT)
คณะ กรรมาธิการยุโรปได้แสดงบทบาทสำคัญอย่างต่อเนื่อง ในการให้ความช่วยเหลือ ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกในการเตรียมความพร้อมและลดความเสี่ยงทางภัยพิบัติโดย เฉพาะที่ผ่านทางหน่วยงานให้ความช่วยเหลือทางด้านมนุษยธรรมภายใต้โครงการ DIPECHO
ในการบรรยายครั้งนี้คณะกรรมาธิการยุโรปและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะพูดถึง พัฒนาการล่าสุดของการให้ความช่วยเหลือภายใต้โครงการดังกล่าวต่อประเทศใน ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก อาทิ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา พม่า ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ฯลฯ
ผู้เสวนาหลัก ได้แก่ เซซิล ปิชอง ผู้เชียวชาญและประสานงานด้านการจัดการภัยพิบัติ หน่วยงานด้านมนุษยธรรมของคณะกรรมาธิการยุโรป ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออก เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และภาคพื้นแปซิฟิก (European Commission's Humanitarian Office), เจอรี่ เวลาซเควซ ผู้ประสานงานอาวุโส องค์กรยุทธศาสตร์นานาชาติเพื่อการลดภัยพิบัติแห่งสหประชาชาติ สำนักงานภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิก (UN ISDR), นาย อาติค ไคนัน อาเมด นักวิชาการด้านสังคมศาสตร์ หน่วยงานการจัดการความเสี่ยงจากสภาพภูมิอากาศ ศูนย์เตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบัติแห่งเอเชีย (ADPC), แพทริค ฟ๊อกซ์ หัวหน้าหน่วยงานการบิหารจัดการความเสี่ยงจากภัยพิบัติ องค์กรกาชาดสากลและสภาเสี้ยววงเดือนแดง (IFRC), ดอกเตอร์ แอนเดิร์ส แกรนลุนด์ ผู้อำนวยการ สำนักเลขาธิการด้านสิ่งแวดล้อมของภูมิภาคเอเชีย (เซนซ่า) ของสำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนานานาชาติแห่งประเทศสวีเดน (ซิด้า) (SIDA/SENSA)
การสัมนนาธุรกิจเรื่อง Green Business and effects in supply chains
8 ตุลาคม 2552เวลา 8.30-17.30
ณ โรงแรมแกรนด์ไฮแอท เอราวัณ
กฎหมาย สิ่งแวดล้อมของสหภาพยุโรปและแนวปฏิบัติของ บริษัทในสหภาพยุโรปมีความ สำคัญไม่เฉพาะในภูมิภาคยุโรปเท่านั้น เมื่อบริษัทในอียูออกมาตรการขานรับนโยบายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก พัฒนาประสิทธิภาพพลังงาน และเพิ่มการใช้พลังงานทดแทน บริษัทในประเทศอื่นๆ ที่ค้าขายกับบริษัทในสหภาพยุโรปจึงต้องพบกับความท้าทายและโอกาสในสายธุรกิจ ของตน การสัมมนาจะมุ่งประเด็นไปที่กฎระเบียบข้อบังคับทางสิ่งแวดล้อมต่างๆ ของบริษัทในสหภาพยุโรป และผลกระทบของมาตรการดังกล่าวที่มีต่อธุรกิจในประเทศไทย โดยเฉพาะกลุ่มบริษัทที่ทำหน้าที่ป้อนวัตถุดิบและบริการให้บริษัทในสหภาพ ยุโรป
ผู้บรรยายหลัก:
คาร์ล ฟาล์วเคนเบิร์ก (Karl Falkenberg), อธิบดีกรมสิ่งแวดล้อม คณะกรรมาธิการยุโรป, เดวิด ลิปแมน หัวหน้าสำนักงานคณะผู้แทนคณะกรรมาธิการยุโรปประจำประเทศไทยและ เอกอัครราชทูต, ดร. สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ รองประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ), ตัวแทนจากบริษัท ไอเกีย, โนเกีย, เมอร์เซเดส เบนซ์ และคาร์ฟูร์ (tbc) และตัวแทนจากภาคอุตสาหกรรมไทย เช่น จาก สยาม ฟูรุกาวา (Siam Furukawa) และ เอเซีย ไฟเบอร์ จำกัด มหาชน (Asia Fiber Public)
วีไอพีดินเนอร์—สู่โอกาสที่ดีทางธุรกิจระหว่างไทยและอียู
8 ตุลาคม 2552 (สำหรับแขกเชิญเท่านั้น)ณ โรงแรมโฟร์ซีซัน
วี ไอพีดินเนอร์ เป็นโอกาสที่ดีในการสร้างเครือข่ายระหว่างนักธุรกิจไทยและอียู ตัวแทนจากภาครัฐและสื่อมวลชน เพื่อส่งเสริมการลงทุนในธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและแลกเปลี่ยนความ รู้เกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติที่ดีระหว่างไทยและอียู ตลอดจนความท้าทายและโอกาสที่เกิดจากภาวะโลกร้อน
ผู้บรรยายหลัก:
คาร์ล ฟาล์วเคนเบิร์ก (Karl Falkenberg), อธิบดีกรมสิ่งแวดล้อม คณะกรรมาธิการยุโรป
--
ขอเชิญอ่าน blog.Thank you so much.
chun
http://tham-manamai.blogspot.com /sundara
http://dbd-52hi5com.blogspot.com/ dbd_52
http://thammanamai.blogspot.com/ อายุวัฒนา
http://sunsangfun.blogspot.com/ suntu
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น